วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

vitamin

วิตามิน เป็นสารที่ร่างกายต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อยต่อวัน แต่มีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ตั้งแต่การหายใจของเซลล์ การสร้างเนื้อเยื่อ การผลิตพลังงานสำหรับดำรงชีวิต จำเป็นสำหรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
สรุปคุณสมบัติของ วิตามิน
• เป็นสารที่ร่างกายต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อยต่อวัน แต่มีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ตั้งแต่การหายใจของเซลล์ การสร้างเนื้อเยื่อ การผลิตพลังงานสำหรับดำรงชีวิต จำเป็นสำหรับการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่นการสร้างเม็ดเลือดแดง การทำงานของระบบประสาท การมองเห็น การสร้างกระดูก  จึงเป็นสารสำคัญที่จำเป็นต่อร่างกายและร่างกายขาดไม่ได้
 
•  Vitamin A  วิตามินเอ ช่วยการมองเห็นในที่มืด ทำให้การเจริญและการพัฒนาของเซลล์บุผิวเป็นปกติ มีบทบาทในการเจริญเติบโตของกระดูก ฟัน ทารกในครรภ์ ถ้าขาดจะเกิดอาการเกี่ยวกับตา (เยื่อตาแห้ง เหี่ยวย่น กลัวแสงสว่าง) อาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ (เยื่อบุทางเดินหายใจลอกหลุดง่าย ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย) และอาการเกี่ยวกับผิวหนัง (ทำให้ผิวหนังแห้ง หยาบกร้านเป็นเกล็ด)
 
•  Vitamin D  วิตามินดี ช่วยในเรื่องการดูดซึมแคลเซียม ถ้าขาด จะทำให้การดูดซึมแคลเซียม ลดลง ทำให้ต้องดึงแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ ส่งผลทำให้ กระดูกอ่อน และจะมีอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ปวดข้อ โลหิตจาง อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่มีแรง
 
•  Vitamin E  วิตามินอี เป็น antioxidant ช่วยป้องกันการแตกสลายของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่แตกง่าย , มีความจำเป็นต่อการเจริญและพัฒนาของเซลล์ประสาท ถ้าขาด เม็ดเลือดแดงจะมีชีวิตสั้น รวมถึงมีผลต่อการเจริญของกล้ามเนื้อด้วย
 
• Vitamin K  วิตามิน เค ช่วยเสริมสร้างการทำงานของตับในการสร้างสารที่จำเป็นต่อการแข็งตัวของเลือด หลายชนิดได้แก่ prothrombin, proconvertin ถ้าขาดจะทำให้เลือดแข็งตัวช้า
 
•  Vitamin B1  วิตามินบี 1 มีความจำเป็นต่อระบบเผาผลาญอาหารและระบบประสาทของร่างกาย ถ้าขาดจะเป็นโรคเหน็บชา อาการสำคัญจะเกี่ยวข้องกับระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยทางระบบประสาทจะมีอาการชาตามมือตามเท้า ตากระตุก แขนขาอ่อนแรง ส่วนอาการทางสมองพบว่า เนื้อสมองจะถูกทำลาย ผู้ป่วยจะมีอาการความจำเสื่อม สำหรับทางระบบหัวใจและหลอดเลือดพบว่า หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หัวใจมีขนาดโตขึ้น
 
•  Vitamin B2  วิตามินบี 2 มีความจำเป็นต่อการหายใจของเซลล์ และการรักษาสภาพของเยื่อบุผิว ถ้าขาด ในช่วงเริ่มแรกริมฝีปากจะอักเสบ แห้งและแตก มุมปากจะซีดแตก (โรคปากนกกระจอก) และเมื่อเป็นมากขึ้นจะมีอาการทางผิวหนัง ใบหน้ามีสะเก็ดมันๆ ต่อมาจะมีอาการอักเสบของตา ตาสู้แสงไม่ได้ คันตา และแสบลูกตา
 
• Niacin or Vitamin B3 ไนอะซิน หรือวิตามินบี มีส่วนช่วยในการผลิตกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ถ้าขาดจะมีผลต่อระบบประสาทส่วนปลาย เช่นปลายประสาทอักเสบ ไขสันหลังและสมอง ซึ่งอาจมีอาการคลุ้มคลั่งและชัก หมดสติ นอกจากนี้ยังมีผลต่อระบบผิวหนังคือ ผิวหนังมีลักษณะหยาบ เป็นจ้ำ สีม่วงหรือสีเข้ม รวมถึงมีผลต่อระบบทางเดินอาหารคือ ลำไส้เล็กอักเสบ ท้องเดิน
 
•  Pantothenic acid  or Vitamin B5  กรดแพนโทธินิค หรือวิตามินบี 5 มีความเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกายหลายอย่าง เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต, การสังเคราะห์กรดไขมัน ถ้าขาด อาจจะมีอาการปวดท้อง อาเจียน และ เป็นตะคริว อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ 
 
•  Vitamin B6 or Pyridoxin วิตามินบี 6 หรือ ไพริดอกซิน มีความสำคัญต่อปฏิกิริยาทั้งหมดในกระบวนการที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาทางชีวเคมี (metabolism) ของกรดอะมิโน (สร้างและสลายโปรตีน ) มีบทบาทในการสร้างเม็ดเลือดแดง ถ้าขาดจะมีอาการ อ่อนเพลีย ชาตามปลายมือปลายเท้า โลหิตจาง รวมถึงมีอาการทางประสาท เช่น สับสน ซึมเศร้า และชัก
 
• Folic acid or Vitamin B9 กรดโฟลิก หรือวิตามินบี 9 มีบทบาทในการสังเคราะห์ DNA & RNA รวมถึงการสังเคราะห์กรดอะมิโนบางตัว เช่น glycine, methionine และทำงานร่วมกับ B12 ในการสร้างเม็ดเลือด ถ้าขาดจะเกิดอาการปากเปื่อย ลิ้นแดงอักเสบ ท้องเดิน น้ำหนักตัวลด เป็นโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงโตกว่าปกติ ( Megaloblastic anemia ) ผมหงอกเร็ว เฉื่อยชา เกียจคร้าน ขี้ลืม แก่เร็ว
 
• Vitamin B12 วิตามินบี 12 มีความจำเป็นต่อกระบวนการที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาทางชีวเคมี (metabolism) ของคาร์โบไฮเดรต, ไขมัน, โปรตีน มีบทบาทในการเจริญและแบ่งตัวของเซลล์ รวมทั้งการสังเคราะห์ myelin (สารหุ้มเส้นประสาท) ด้วย  มีความสำคัญต่อการสร้างเซลล์ผิว โดยเฉพาะเยื่อบุทางเดินอาหาร ถ้าขาดจะมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร , โลหิตจาง , ชาตามมือและเท้า ถ้าขาดมากจะมีอาการสับสน และประสาทหลอนได้
 
• Biotin or Vitamin H ไบโอติน หรือวิตามิน เอช ถ้าขาดจะเป็นโรคผิวหนัง ผิวหนังมีสีเทา อ่อนเพลีย โลหิตจาง โคเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่าปกติ
 
• Vitamin C วิตามินซี มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสร้างคอลลาเจน เป็น antioxidant ช่วยเพิ่มการดูดซึมของเหล็ก ถ้าขาดจะมีเลือดออกตามไรฟัน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เหงือกบวม ฟันหลุดง่าย
สรุปคุณสมบัติของ เกลือแร่ (อ้างอิงที่ 1)
 
• คือสารอนินทรีย์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับชีวิตในร่างกายมนุษย์ เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับระบบการหายใจ และระบบเอนไซม์ ช่วยควบคุมการซึมผ่านผนังเยื่อเซลล์และหลอดเลือดฝอยต่างๆ
 
•  Calcium แคลเซียม มีบทบาทในการสร้างกระดูกและฟัน มีความสำคัญในการควบคุมการเต้นของหัวใจ การส่งสัญญาณประสาท ช่วยในระบบเอนไซม์หลายชนิด ถ้าขาดจะเป็นโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ การเจริญเติบโตช้า กระดูกอ่อน ฟันผุ
 
• Iron เหล็ก รวมกับโปรตีนและทองแดงเพื่อสร้างฮีโมโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบของเลือด จำเป็นสำหรับเอนไซม์ช่วยในการเผาผลาญโปรตีน ถ้าขาดจะเป็นโรคโลหิตจางเนื่องจากจำนวนฮีโมโกลบินลดน้อยลงในเม็ดเลือดแดง ผิวหนังซีด เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปวดหัว ความต้านทานต่อการติดเชื้อลดลง
 
•  Iodine ไอโอดีน จำเป็นสำหรับสุขภาพและการทำหน้าที่ของต่อมไธรอยด์ สำหรับผลิตฮอร์โมนที่ชื่อ ไธรอกซินและไตรไอโอโดไธโรนิน ซึ่งจะช่วยควบคุมการเผาผลาญ การผลิตพลังงาน และอัตราการเจริญเติบโต รวมถึงยังช่วยในการรักษาผิวหนัง เล็บและผม ให้มีสุขภาพดี ถ้าขาดจะเซื่องซึม เหนื่อยง่าย ความดันต่ำ ผิวหนังและผมแห้ง เป็นโรคคอพอก โคเลสเตอรอลสูง เป็นโรคหัวใจ ไม่สนใจทางเพศ
 
• Zinc สังกะสี  ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิดซึ่งสำคัญในการย่อยอาหารและการเผาผลาญ จำเป็นสำหรับการหายใจของเนื้อเยื่อ จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ถ้าขาดจะทำให้การเจริญเติบโตช้า แผลหายช้า เป็นโรคผิวหนัง มีจุดขาวที่เล็บ เบื่ออาหาร ผมร่วง มีรังแค การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ผนังหลอดเลือดแข็ง
 
• Copper ทองแดง จำเป็นเพื่อให้เหล็กถูกดูดซึม และจำเป็นสำหรับการเผาผลาญโปรตีน ร่วมกับวิตามินซีในการสร้างอีลาสติน สำคัญในระบบโครงสร้าง เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ถ้าขาดจะมีอาการโลหิตจางเนื่องจากการดูดซึมเหล็กไม่ดี ผมร่วง ผมหงอก มีแผลที่ผิวหนัง
 
• Manganese แมงกานีส มีความสำคัญในระบบเอนไซม์ต่างๆซึ่งจำเป็นสำหรับการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ช่วยมนการขนส่งสัญญาณระหว่างสมอง ประสาท และกล้ามเนื้อ จำเป็นสำหรับระยะให้นมลูกและการสร้างเสริมระบบโครงสร้างของร่างกาย ถ้าขาด การเจริญเติบโตจะช้า กล้ามเนื้อไม่มีแรง การทรงตัวไม่ดี การสร้างกระดูกและกระดูกอ่อนผิดปกติ
 
• Selenium ซีลีเนียม เป็น antioxidant ทำงานใกล้ชิดกับวิตามินอี เพื่อรักษาเนื้อเยื่อต่างๆให้มีความยืดหยุ่นและช่วยให้หัวใจทำหน้าที่ได้ดี ขึ้น สำคัญในการช่วยไม่ให้เป็นหมัน โดยช่วยให้เชื้ออสุจิมีความแข็งแรง ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อการเป็นโรค ถ้าขาดจะทำให้แก่ก่อนวัย กล้ามเนื้อฝ่อ เป็นโรคหัวใจ และอาจเป็นหมัน มะเร็งในระบบย่อยอาหาร
 
• Molybdenum โมลิบดีนัม เป็นส่วนประกอบในเอนไซม์หลายชนิด เป็นส่วนที่จำเป็นสำหรับเอนไซม์แซนธีน ออกซิเดส ซึ่งสำคัญในการเคลื่อนย้ายเหล็กออกจากตับ และจำเป็นสำหรับเอนไซม์อัลดีไฮด์ ออกซิเดส ซึ่งสำคัญในกระบวนการออกซิเดชั่น
 
• Chromium โครเมียม เป็นแร่ธาตุจำเป็นช่วยในการควบคุมการเผาผลาญของกลูโคสตามปกติ สำคัญในการสังเคราะห์กรดไขมันและโปรตีน
 
สำหรับความต้องการของวิตามินและเกลือแร่ในแต่ละวัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้จัดทำบัญชีสารอาหารที่แนะนำให้ควรบริโภค ประจำวันสำหรับคนไทย อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes – Thai RDI) ขึ้น โดยมีข้อมูลของวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ดังนี้ 
  1.  ลำดับที่ สารอาหาร ปริมาณที่แนะนำต่อวัน  หน่วย
     1  Vitamin A  2,664 Universal Unit 
     2 Vitamin B1  1.5   Milligram
     3 Vitamin B2  1.7   Milligram
     4 Niacin  20  Milligram N.E. 
     5 Vitamin B6   2 Milligram 
     6  Folate 200  Microgram 
     7  Biotin 150  Microgram 
     8  Pantothenic Acid  6 Milligram 
     9 Vitamin B12    2  Microgram 
     10  Vitamin C  60 Milligram 
     11  Vitamin D 200  Universal Unit 
     12  Vitamin E 15  Universal Unit 
     13 Vitamin K  80  Microgram 
     14  Calcium 800   Milligram
     15  Phosphorus 800  Milligram 
     16  Iron 15   Milligram
     17 Iodine  150  Microgram 
     18 Magnesium  350   Milligram
     19  Zinc 15   Milligram
     20 Copper   Milligram
     21  Potassium 3,500   Milligram
     22 Sodium  2,400   Milligram
     23  Manganese 3.5    Milligram 
     24  Selenium  70  Microgram
     25 Fluoride   2  Milligram
     26  Molybdenum 160   Microgram
     27  Chromium 130   Microgram
     28  Chloride 3,400   Milligram
     
เอกสารอ้างอิง
1. เครือข่ายวิชาการผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย., วิตามินและเกลือแร่, www.fda.moph.go.th

2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ.2541 เรื่องฉลากโภชนาการ, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

2 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ กำลังหาบทวามดีๆอยู่ดี เกี่ยวกับวิตามินและอาหารเสริม ตอนนี้ทางโรงงานผลิตอาหารเสริม Kovic กำลังมองหาบุคคลากรที่มีคุณภาพ อยู่พอดีครับ หากสนใจติดต่อได้โดยตรงเลยนะครับ

    ตอบลบ