วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สารพัดคุณประโยชน์ของ ใบชาเขียว


มัทฉะ มหัศจรรย์จากใบชาเขียว
     ชาเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ  Camellia sinensis  ให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากมายหลายประการ  โดยมีสารสำคัญที่ทำให้เกิดประโยชน์ (Active Health component)ที่เรียกว่า โพลีฟีนอล(Polyphenols) หรือเรียกกันทั่วไปว่า คาเทชิน (Catechins) ซึ่ง Catechins นี้จะปริมาณ 30-40%  ของส่วนที่เป็นของแข็งที่สามารถสกัดได้จากใบชาเขียวแห้ง คาเทชินที่อยู่ในชาเขียว  ประกอบไปด้วย  
Epigalloatechin-3-gallate หรือ (EGCG)
Epicatechin-3-gallate 
Epicatechin
Epigallocatechin 
Gallocatechin gallate and Catechin  
ในทั้งหมดนี้สารที่มีมากที่สุดคือ  Epigallocatechin-3-gallate หรือ อี จี ซี จี  (EGCG)  ขนาดใบชาเขียวแห้ง 1 ซอง (1.5 กรัมต่อซอง)  จะให้ EGCG ประมาณ 35-110 mg  EGCG นับได้ว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในชาเขียวและมีปริมาณมากที่สุด  มีความแรงของการต้านอนุมูลอิสระมากว่าวิตามินซี  และวิตามินอี  25-100 เท่า  การรับประทานชาประมาณ 1 แก้วต่อวัน  จะให้สารต้านอนุมูลอิสระมากกว่ารับประทานแครอท  บรอคเคอรี  ผักโขมและสตอเบอร์รี  ในขนาดที่รับประทานในแต่ละมื้อ  ซึึ่่งมีงานวิัจัยรองรับมากมายถึงประโยชน์ของสารสำคัญตัวนี้อาทิเช่น
       ช่วยลดความอ้วน  ด้วยกลไกของการกระตุ้นปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน  (Stimulates Fat Ooxidation)  มีรายงานวิจัยที่มีข้อมูลสนับสนุนว่า EGCG  ช่วยเพิ่มกระบวนการเผาผลาญพลังงานของเนื้อเยื่อไขมัน  และมีรายงานการทดลองในคนแล้วว่า  ช่วยลดความอ้วนได้  นอกจากนี้  มีงานวิจัยที่ำทำในคนไทยโดยแบ่งผู้ที่น้ำหนักเกินเป็นสองกลุ่ม  ได้รับสารสกัดชาเขียว  และยาปลอม  กลุ่มที่ได้รับชาเขียวมีน้ำหนักน้อยกว่า  2.7, 5.1 และ 3.3 ก.ก.  ในสัปดาห์ที่ 4,8 และ 12 ของการวิจัย
       ช่วยลดไขมันในเลือด ได้ไม่มากนักแต่ก็มีงานวิจัยที่ดีรองรับสองงานวิจัย  ในงานวิจัยแรกพบว่า  เมื่อรับประทานอาหารที่มีใขมันสูงการดื่มชาในปริมาณปานกลางหรือปริมาณมากร่วมด้วย  จะลดปริมาณไขมันในเลือดชนิดโตรกลีเซอไรด์ลงได้อย่างมีนัยสำคัญ  ในช่วง 6 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารและดื่มชา  โดยลดการเพิ่มระดับของไขมันชนิดไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดได้ถึง 15.1-28.7%  อีกงานวิจัยพบว่า  ผู้ที่ดื่มชาประมาณสองถ้วยต่อวัน  สามารถลดไขมันในเลือดชนิดโคเลสเตอรอลลงได้เล็กน้อย  (119.9 เป็น 106.6 มก./ดล.) แต่ก็มีนัยสำคัญทางคลีนิก
       ช่วยโรคเส้นเลือดอุดตัน  มีรายงานวิจัยว่า  สารสำคัญในชาเขียวสามารถลดการหดเกร็งของเส้นเลือดฝอยลดการเกิดตะกอน (Plaque)  ในเส้นเลือดฝอย  ทำให้ลดอุบัติการณ์ของโรคกล้ามเนื้อห้วใจตายจากการขาดเลือด  (Myocardial Infarction)  และอัมพฤกษ์  อัมพาตจากเส้นเลือดตีบตัน (Stroke)  นอกจากนี้ EGCG  ยังเป็นตัวยับยั้งการเกิดการสันดาป Oxidation ของโครเลสเตอรอล ทำให้ลดการเกิดการสะสมสร้างตะกอน (Plaque)  ในเส้นเลือดจากโคเลสเตอรอลทำให้ลดการเกิดเส้นเลือดแข็งตัวตีบตัน (Atherosclerosis)  และลดอุบัติการณ์ของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ (Coronary Atherosclerosis)  

ในงานวิจัยในสัตว์ทดลองยังลดการเกิดเส้นเลือดในปอดตีบตัน  (Pulmonary Thrombosis)  อีกด้วย  ส่งให้เป็นผลดีต่อสุขภาพของหลอดเลือดหัวใจ  ไม่นานนี้มีงานวิจัยทางระบาดวิทยาในคนญี่ปุ่น  พบว่า  ผู้ที่ดื่มชาเขียวจะลดการเกิดโรคเส้นเลือดทางสมองทั้งโรคเส้นโลหิตในสมองแตก  (Cerebralhemarrhage)  และเส้นเลือดสมองตีบ (Cerebral infarction) ได้จริง
       ต่อต้านอนุมูลอิสระ  และต่อต้านมะเร็ง  (Antiozidant and Anticancer)  ชาเขียวมีผลต่อการยับยั้งการเกิดมะเร็งได้หลายชนิดทั้งในคนและสัตว์  เพราะมีฤทธิ์ทางด้านการต้านอนุมูลอิสระอย่างมากจากการวิเคราะห์งานวิจัยที่เชื่อถือได้ของ Cochrane Database  ตีพิมพ์ล่าสุดจำนวน 51 งานวิจัยทั่วโลก  แม้จะมีจำนวนงานวิจัยที่จำกัด  พบว่าการดื่มชาเขียวลดอุบัติการณ์เกิดมะเร็งหลายชนิด  เช่น  มะเร็งตับ  มะเร็งต่อมลูกหมาก  มะเร็งปอด  มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ  มะเร็งลำไส้  และมะเร็งตับอ่อน   อย่างไรก็ตามเมื่อกล่าวถึงชาเขียวญี่ปุ่นแล้วสามารถแบ่งแยกออกได้เป็นหลายเกรด เช่น
     Gyokuro  เป็นชาเขียวญี่ปุ่นที่ถือได้ว่าเป็นชาชั้นสูงที่สุด  ซึ่งต้องปลูกภายใต้การดูแลเป็นพิเศษ  เป็นใบชาที่ได้จากการปลูกแบบประคบประหงม  ภายในร่มก่อนที่จะเก็บเกี่ยว  เพื่อให้ได้กลิ่นและรสที่ดีที่สุด  ชื่อของ  Gyokuro  สื่อถึงสีเขียวอ่อนของน้ำชาที่ชงออกมาแล้ว

     มัทฉะ (Matcha)  เป็นชาที่ต้องปลูกภายใต้การดูและเป็นพิเศษเหมือนกัน  Gyokuro  กล่าวคือ  หลังจากที่ใบชาเริ่มแตกยอดนั้นจะไม่ให้ยอดใบชาถูกแสงแดดทำให้ชะลอการเติบโตของใบชา  เป็นผลทำใ้ห้ใบชามีสีเขียวเข้มขึ้น  มีการสร้างกรดอะมิโนซึ่งทำให้ใบชามีรสหวานขึ้นน  แล้วเลือกเก็บเกี่ยวเฉพาะใยชาที่ดีที่สุดด้วยมือหลังจากนั้นแล้วใบชาที่ม้วนงอเป็นปกติก็จะถูกจัดเกรดเป็น Gyokuro  ส่วนใบชาที่แผ่ออกเป็นใบ  ก็จะำนำไปอบ  แล้วป่นออกเป็นผง  ซึ่งจะเรียกชาส่วนนี้ว่า  เทนฉะ (techa)  จากนั้นจะนำไปบดให้เป็นผงละเอียดด้วยครกหิน  จนมีลักษณะเป็นผงละเอียดคล้ายแป้ง  มีสีเขียวอ่อน ๆ  ก็จะได้มัทฉะ

     เซนฉะ  (Sencha)  เป็นชาเขียวชนิดที่นิยมดื่มกันทั่วไปในญี่ปุ่น  ได้จากใบชาที่แตกยอดครั้งแรก  และครั้งที่ 2  เซนฉะเป็นชาที่ผลิตและดื่มกันแพร่หลายคิดเป็น 80% ของปริมาณการผลิตชาทั้งประเทศ

      โคนะฉะ  (Konacha)  ผลิตจากใบชาส่วนที่เหลือจากการทำ  Gyokuro  หรือ เซนฉะ ราคาจะถูกว่า  และนิยมใช้ในร้านขายซูชิ

     บังฉะ  (Bancha)  เป็นชาเกรดรองลงมาจากเซนฉะ  ได้จากใบชาที่แตกยอดครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4  ในช่วงระหว่างฤดูร้อนถึงฤดูใบไม้ร่วง
       นอกจากนี้ยังมีชาอื่น ๆ  อีกมากมาย อาทิเช่น  โฮจิฉะ  (Hojicha),  ฟงมัทซึฉะ  (Funmatsucha) ฯลฯ
       ดังนั้นเมื่อพูดถึง มัทฉะ แล้ว  ก็จะหมายถึงใบชาญี่ปุ่นชั้นดีที่บดละเอียด  และเป็นชาที่ถูกนำไปใช้ในพิธีชงชาของประเทศญี่ปุ่นมีพิธีการ  อุปกรณ์  และวิธีชงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  จากข้อมูลกระบวนการผลิตมัทฉะดังกล่าวมาแล้วนั้น  จะเห็นได้ว่ามัทฉะเป็นใบชาบดผง  ซึ่งเมื่อนำมาใช้ในพิธีชงชาก็จะใช้ผงมัทฉะมาละลายเลย  ดังนั้นการดื่มมัทฉะจึงเป็นการรับประทานใบชาทั้งใบ  ต่างจาการดื่มชาแบบอื่นที่จะใช้ใบชาชงกับน้ำร้อน  แล้วดื่มเฉพาะน้ำชาส่วนกากใบชาก็จะถูกทิ้งไป  

       ปัจจุับันนี้ได้มีการประยุกต์นำมัทฉะมาทำเป็นเครื่องดื่มร้อนปรุงสำเร็จ  โดยนำผงมัทฉะมาผสมกับน้ำตาล นม และครีมเทียมบรรจุอยู่ในซอง  เวลาจะรับประทานให้ชงกับน้ำร้อน  คนให้ละลายเข้ากันก็จะได้ชาเขียวมัทฉะชงร้อนที่มีรสชาติของมัทฉะออกเข้ม  ขมเล็กน้อย  (ขมแบบชา)  ผสมกับความหอมหวานของนม  น้ำตาล และครีมเทียม  กลายเป็นชาเขียวร้อนที่มีกลิ่นที่หอมรสชาติที่อร่อยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีตะกอนอยู่บ้างเนื่องจากเป็นการรับประทานใบชาทั้งใบ  นับได้ว่าเป็นอีกวิถีทางหนึ่งในการดื่มชาเขียว  ที่ง่าย  สะดวก  ได้ประโยชน์จากชาเขียวทั้งหมด  
     นอกจากนี้อาจมีการเติมสารอาหารอื่นๆ  ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ  เช่น ซีลีเนียม  ซึ่งตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องการแสดงข้อความกล่าวอ้าง เกี่ยวกับหน้าที่ของสารอาหาร  อนุญาตให้แสดงข้อความกล่าวอ้าง หน้าที่ของ ซีลีเนียมว่าซีลีเนียมมีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ 
       อย่างไรก็ตามเนื่องจากมัทฉะ  คือชาซึ่งมีคาเฟอีนเป็นองค์ประกอบอยู่  คล้ายกาแฟจึงมีข้อห้ามข้อควรระวังเหมือนกาแฟทั่ว ๆ  ไปเช่นกัน  เนื่องจากคาเฟอีนจะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง  และการเต้นของหัวใจจึงควรระวัง  และห้ามรับประทานในผู้ป่วยไทรอยด์  ในระยะที่มีอาการใจสั่น  นอนไม่หลับ  แต่เมื่อคุมอการของไทรอยด์ได้แล้วก็จะรับประทานได้  และไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ  ใจสั่น  รวมถึงผู้ที่ไวต่อคาเฟอีน  และโรคหัวใจเต้นเร็ว  หรือผิดจังหวะด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น